วันอาทิตย์ที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2559

การแยกสารเนื้อเดียว




1. การระเหยแห้ง
            การแยกสารด้วยวิธีนี้เหมาะสำหรับใช้แยกสารผสมที่เป็นของเหลวและมีของแข็ง ละลายในของเหลวนี้  จนทำให้สารผสมมีลักษณะเป็นของเหลวใส ซึ่งเราเรียกสารผสมนี้ว่า สารละลาย เช่น น้ำทะเล น้ำเชื่อมน้ำเกลือ เป็นต้น การแยกสารโดยวิธีการระเหยแห้งนิยมใช้ในการแยกเกลือออกจากน้ำทะเล มีการนำเกลือเพื่อแยกน้ำทะเลให้ได้เกลือสมุทรโดยวิธีการระเหยแห้ง 
ชาวนาเกลือเตรีมแปงนาแล้วใช้กังหันฉุดน้ำทะเลเข้าสู้แปลงนาเกลือหลังจาก นั้นปล่อยให้น้ำทะเลได้รับแสงแดดเป็นเวลานานจนกระทั่งน้ำระเหยจนแห้ง จะเหลือเกลืออยู่ในนา เกลือที่ได้นี้เรียกว่า เกลือสมุทรซึ่งเป็นเกลือที่นำมาปรุงอาหาร ทำเครื่องดื่ม
2. โครมาโทรกราฟี (Chromatography) อาศัยสมบัติ2ประการคือ
            - สารต่างชนิดกันมีความสามารถในการละลายในตัวทำละลายได้ต่างกัน
            - สารต่างชนิดกันมีความสามารถในการถูกดูดซับด้วยตัวดูดซับได้ต่างกัน

โครมาโทกราฟีแบบกระดาษ


3. การกลั่น (distillation)
            การกลั่นเป็นการแยกสารละสายที่เป็นของเหลวออกจากของผสม  โดยอาศัยหลักการระเหยกลายเป็นไปและควบแน่น  โดนที่สารบริสุทธิ์แต่ละชนิดเปลี่ยนสถานะได้ที่อุณหภูมิจำเพาะ  สารที่มจุดเดือดต่ำจะเดือดเป็นไอออกมาก่อน  เมื่อทำให้ไอของสารมีอุณหภูมิต่ำลงจะควบแน่นกลับมาเป็นของเหลวอีกครั้ง
            1. การกลั่นแบบธรรมดาหรือการกลั่นอย่างง่าย(simple distillation)

การกลั่นแบบธรรมดา

           2. การกลั่นลำดับส่วน (fractional distillation)

การกลั่นลำดับส่วน

           3. การกลั่นน้ำมันดิบ (refining)       
           4. การสกัดโดยการกลั่นด้วยไอน้ำ

การสกัดโดยการกลั่นด้วยไอน้ำ

4. การตกผลึก (Crystallization)
            คือกระบวนการเกิดผลึกของแข็งจากสารละลาย(solution) จากของเหลว (melt) หรือไอ (vapor)โดยกระบวนการดังกล่าว อาจเกิดขึ้นเองในธรรมชาติหรือเกิดขึ้นจากการทดลองในห้องปฏิบัติการตัวอย่าง การเกิดผลึกในธรรมชาติ เช่น ผลึกน้ำแข็ง(ice crystals) หิมะ (snow) เป็นต้น ผลึกของสารอินทรีย์เช่น อินซูลินและน้ำตาล ผลึกของธาตุเช่น แกลเลียม และซิลิกอน ซึ่งสามารถเกิดในธรรมชาติและถูกสังเคราะห์
            การตกผลึก เป็นวิธีทำสารให้บริสุทธิ์ หรือเป็นวิธีแยกสารออกจากกัน วิธีหนึ่ง
            การตกผลึก ทำโดยเลือกตัวทำละลายที่เหมาะสมไปสกัดสารที่ต้องการแล้วนำมาตกผลึก สารที่มี สภาพละลายได้ต่างกันมาก สามารถตกผลึกแยกออกจากกันได้
 การเลือกตัวทำละลายที่เหมาะสมต่อการตกผลึก มีหลักในการเลือกดังนี้
            1. ละลายสารที่ต้องการตกผลึกในขณะร้อนได้ดี และละลายได้น้อยหรือไม่ละลายเลยที่อุณหภูมิต่ำ
(ขณะเย็น)
            2. ไม่ละลายสารปนเปื้อนขณะร้อนหรือละลายได้น้อยขณะร้อน แต่ละลายได้ดีขณะเย็น
            3. ควรมีจุดเดือดต่ำ เพื่อสามารถกำจัดออกจากผลึกได้ง่าย
            4. ไม่ทำปฏิกิริยากับสารที่ต้องการตกผลึก
            5. ควรทำให้สารที่ที่ต้องการทำให้บริสุทธิ์เกิดเป็นผลึกที่มีรูปร่างชัดเจน
            6. ไม่เป็นพิษ
            7. หาง่าย และราคาถูก

การตกผลึก


                                                                     คลิป การทดลองเรื่อง การกลั่น




แหล่งอ้างอิง

ที่มา : นายสราวุธ สุธีรวงศ์.(2016).ธาตุและสารประกอบ. ค้นหาเมื่อวันที่ 10  ธันวาคม 2559,จาก http://www.krusarawut.net/wp/?p=15873

ที่มา : นายสราวุธ สุธีรวงศ์.(2016).ธาตุและสารประกอบ. ค้นหาเมื่อวันที่ 10  ธันวาคม 2559,จาก https://chemistryprosite.wordpress.com/2017/03/19/บทที่-1-ความรู้พื้นฐานเค/

ที่มา : DLIT Resources คลังสื่อการสอน.(20 ก.ค. 2558).การทดลองเรื่องการกลั่น วิทยาศาสตร์ ม.2. [Video file].จาก  https://www.youtube.com/watch?v=Qhn4HAN87AU




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น