ระบบ
(system) หมายถึง
สิ่งที่อยู่ภายในขอบเขตที่ต้องการศึกษา การกำหนดองค์ประกอบของระบบ
ขึ้นอยู่กับจุดมุ่งหมายของการศึกษา ซึ่งต้องกำหนดหรือระบุให้ชัดเจน
สิ่งแวดล้อม
(environment) หมายถึง
สิ่งต่างๆ ที่อยู่นอกขอบเขตที่ต้องการศึกษา ตัวอย่างการกำหนดองค์ประกอบของระบบ
เช่น การศึกษาการละลายของน้ำตาลทรายในน้ำ โดยสารละลายน้ำตาลทรายจะเป็นระบบ
ส่วนบีกเกอร์ ภาชนะ และแท่งแก้วจัดเป็นสิ่งแวดล้อม
ภาวะของระบบ
หมายถึง สมบัติต่าง ๆ ของสาร และปัจจัยที่มีผลต่อสมบัติของระบบ เช่น
ความดันบรรยากาศ อุณหภูมิ ปริมาณของสาร
เมื่อระบบเกิดการเปลี่ยนแปลงแล้วจะมีการถ่ายเทพลังงานระหว่างระบบกับสิ่งแวดล้อม
ดังนี้
ก.
ระบบที่มีการเปลี่ยนแปลงประเภทคายความร้อน คือ ระบบที่เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงแล้ว
ระบบ จะถ่ายเทความร้อนให้แก่สิ่งแวดล้อม
ทำให้สิ่งแวดล้อมร้อนขึ้น
ข.
ระบบที่มีการเปลี่ยนแปลงประเภทดูดความร้อน คือ ระบบที่เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงแล้ว
ระบบ จะดูดความร้อนจะสิ่งแวดล้อมทำให้สิ่งแวดล้อมนั้นเย็นลง
ประเภทของระบบ
การเปลี่ยนแปลงพลังงานระหว่างระบบและสิ่งแวดล้อม
จะใช้การถ่ายเทมวลของสารเป็นเกณฑ์ในการแบ่งประเภทของระบบ ดังนี้
-
ระบบเปิด (open system) หมายถึง
ระบบที่มีการแลกเปลี่ยนหรือถ่ายโอนทั้งพลังงานและมวลให้กับสิ่งแวดล้อม
หรือมวลของระบบไม่คงที่เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลง เช่น การต้มน้ำในภาชนะเปิดบนเตาไฟ
ระบบคือ ภาชนะเปิดที่มีน้ำบรรจุอยู่เตาไฟและอากาศที่ล้อมรอบทั้งหมดคือสิ่งแวดล้อม
ระบบที่มีการรับความร้อนจากเตาไฟและคายความร้อนให้กับสิ่งแวดล้อม(มีการแลกเปลี่ยนหรือถ่ายโอนพลังงาน)
เมื่อชั่งน้ำหนักของภาชนะกับน้ำก่อนการต้มและหลังการต้มจะไม่เท่ากัน (มวลของระบบไม่คงที่)
-
ระบบปิด (close system) หมายถึง
ระบบที่ไม่มีการถ่ายเทมวลให้กับสิ่งแวดล้อมแต่มีการแลกเปลี่ยนหรือถ่ายโอนพลังงานกับสิ่งแวดล้อม
หรือมวลของระบบคงที่เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลง เช่น การต้มน้ำในภาชนะปิดบนเตาไฟ
ระบบคือภาชนะที่มีน้ำบรรจุอยู่ภายใน ส่วนเตาไฟและอากาศที่ล้อมรอบทั้งหมดเป็นสิ่งแวดล้อม
ระบบจะรับความร้อนจากเตาไฟแล้วกลายเป็นไอคายพลังงานให้กับสิ่งแวดล้อม(มีการแลกเปลี่ยนหรือถ่ายโอนพลังงาน)เมื่อชั่งน้ำหนักของภาชนะที่บรรจุน้ำก่อนการต้มและหลังการต้มในภาชนะปิดจะเท่ากัน(มวลของระบบคงที่)
- ระบบโดดเดี่ยว (Isolate system)
หมายถึง
ระบบที่ไม่มีการถ่ายเทมวลและพลังงานให้กับสิ่งแวดล้อม
เช่นน้ำร้อนในกระติกน้ำร้อน
ระบบเปิด ระบบปิด ระบบโดดเดี่ยว
หมายเหตุ
1. ทั้งระบบเปิดและปิดจะมีพลังงานถ่ายเทระหว่างระบบและสิ่งแวดล้อม
2. ระบบเปิดและปิดไม่เกี่ยวกับการปิดหรือเปิดภาชนะแต่ขึ้นกับมวลสาร
การเปลี่ยนแปลงของสาร
การเปลี่ยนแปลงของสาร
หมายถึง
ผลต่างระหว่างสมบัติของสารหลังการเปลี่ยนแปลงกับสมบัติของสารก่อนการเปลี่ยนแปลง
แบ่งออกเป็นประเภทใหญ่ๆ ได้ 3 ประเภท คือ
1. การเปลี่ยนสถานะ
(s, l, g)
2. การละลาย
(Solute + Solvent →
Solution)
3. การเกิดปฏิกิริยาเคมี
(สารตั้งต้น สารใหม่)
การเปลี่ยนแปลงใดๆ
ก็ตามจะมีพลังงานเกี่ยวข้องควบคู่ไปด้วยเสมอ ซึ่งอาจจะดูดหรือคายพลังงานก็ได้
ต้องกำหนดขอบเขตของสิ่งที่เรากำลังศึกษาทดลองอยู่
พลังงานกับการเกิดปฏิกิริยา
พลังงานเคมี
(Chemical energy) เป็นพลังงานศักย์ที่แฝงอยู่ในโครงสร้างของสาร เช่น อยู่ในรูปของน้ำมันเชื้อเพลิง
ไขมัน
ซึ่งเมื่อเกิดการเผาไหม้จะปล่อยพลังงานเคมีออกมาและนำมาใช้ประโยชน์ได้พลังงานเคมีเป็นพลังงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องและสำคัญกับสิ่งมีชีวิตมากในการเกิดปฏิกิริยาของสารแต่ละปฏิกิริยานั้น
ต้องมีพลังงานเข้ามาเกี่ยวข้องกับการเกิดปฏิกิริยาเคมี 2 ขั้นตอน ดังนี้
ขั้นที่ 1
เป็นขั้นที่ดูดพลังงานเข้าไปเพื่อสลายพันธะในสารตั้งต้น
ขั้นที่ 2
เป็นขั้นที่คายพลังงานออกมาเมื่อมีการสร้างพันธะในผลิตภัณฑ์
1. ปฏิกิริยาดูดความร้อน ( Endothermic reaction)
เป็นปฏิกิริยาที่ดูดพลังงานเข้าไปสลายพันธะมากกว่าที่คายออกมาเพื่อสร้าง
พันธะ โดยในปฏิกิริยาดูดความร้อนนี้สารตั้งต้นจะมีพลังงานต่ำกว่าผลิตภัณฑ์
จึงทำให้สิ่งแวดล้อมเย็นลง อุณหภูมิลดลง
เมื่อเอามือสัมผัสภาชนะจะรู้สึกเย็นดังภาพ
2. ปฏิกิริยาคายความร้อน
( Exothermic reaction)
เป็นปฏิกิริยาที่ดูดพลังงานเข้าไปสลายพันธะน้อยกว่าที่คายออกมาเพื่อสร้าง
พันธะ
โดยในปฏิกิริยาคายความร้อนนี้สารตั้งต้นจะมีพลังงานสูงกว่าผลิตภัณฑ์จึงให้พลังงานความร้อนออกมาสู่สิ่งแวดล้อมทำให้อุณหภูมิสูงขึ้นเมื่อเอามือสัมผัสภาชนะจะรู้สึกร้อน
ดังภาพ
คลิป การเปลี่ยนแปลงสมบัติ -
สื่อการเรียนการสอน วิทยาศาสตร์ ม.2
แหล่งอ้างอิง
ที่มา : นางสาวละไม
ยอดโพธิ์.(2016).สารและการเปลี่ยนแปลง.ค้นหาเมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2559,จาก https://sites.google.com/site/lamaiyodpho/bth-thi-1-sar-laea-kar-peliyn-plng/2-rabb-laea-sing-waedlxm-kab-kar-peliynpaelng-khxng-sar
ที่มา : นายสราวุธ สุธีรวงศ์.(2016).ธาตุและสารประกอบ.
ค้นหาเมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2559,จาก http://www.krusarawut.net/wp/?p=17088
ที่มา : ครูโอ๋ สื่อการเรียนการสอน.(9 กรกฏาคม 2558).การเปลี่ยนแปลงสมบัติ
- สื่อการเรียนการสอน วิทยาศาสตร์ ม.2. [Video file].จาก
https://www.youtube.com/watch?v=QD1SDvf8ktg&t=786s
Buy titanium hoop earrings from men at titanium-arts.com
ตอบลบOur titanium hoop earrings are a great tecate titanium way to titanium trimmer decorate welding titanium your wardrobe. They're also available in titanium necklace a range of colors, 피망 포커 colours, and styles.