ปฏิกิริยาเคมี คือ
กระบวนการที่เกิดจากการที่สารเคมีเกิดการเปลี่ยนแปลงแล้วส่งผลให้เกิดสาร
ใหม่ขึ้นมาซึ่งมีคุณสมบัติเปลี่ยนไปจากเดิม
การเกิดปฏิกิริยาเคมีจำเป็นต้องมีสารเคมีตั้งต้น 2 ตัวขึ้นไป
(เรียกสารเคมีตั้งต้นเหล่านี้ว่า "สารตั้งต้น" หรือ reactant)ทำปฏิกิริยาต่อกัน และทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในคุณสมบัติทางเคมี
ซึ่งก่อตัวขึ้นมาเป็นสารใหม่ที่เรียกว่า "ผลิตภัณฑ์" (product) ซึ่งสารผลิตภัณฑ์มีคุณสมบัติทางเคมีที่เปลี่ยนไปจากเดิม
หลังจากการเกิดปฏิกิริยาเคมีอะตอมทั้งหมดของสารตั้งต้นไม่มีการสูญหายไปไหนแต่เกิดการแลกเปลี่ยนจากสารหนึ่งไปสู่อีกสารหนึ่ง
ซึ่งจะเห็นได้จากผลรวมของอะตอมของสารตั้งต้นจะเท่ากับผลรวมของอะตอมของผลิตภัณฑ์
ปฏิกิริยาเคมีมีขั้นตอนของการเปลี่ยนแปลงตามลำดับผังเหตุการณ์
ต่อไปนี้
ปฏิกิริยาเคมีแบ่งออกได้ 5
ชนิด ได้แก่
1. ปฏิกิริยาการรวมตัว A +Z -------> AZ
2. ปฏิกิริยาการสลายตัว AZ -------> A +Z
3. ปฏิกิริยาการแทนที่เชิงเดี่ยว A + BZ -------> AZ + B
4. ปฏิกิริยาการแทนที่เชิงคู่ AX+BZ -------> AZ + BX
5. ปฏิกิริยาสะเทิน HX+BOH -------> BX + HOH
ข้อสังเกตการเกิดปฏิกิริยา
สารใหม่ที่เกิดขึ้นในปฏิกิริยาเคมี
สังเกตได้ดังนี้
1. สี เช่น สารเดิมไม่มีสีเมื่อเกิดปฏิกิริยาเคมี
จะมีสีใหม่เกิดขึ้น (สารใหม่)
2. กลิ่น เช่น เกิดกลิ่นฉุน
กลิ่นเหม็น กลิ่นหอม
3. ตะกอน เช่น สารละลายเลด (II) ไนเตรต และโพแทสเซียมไอโอไดด์ เป็นของเหลวใส ไม่มีสี
เมื่อผสมกันแล้วเกิดตะกอนสีเหลือง
4. ฟองแก๊ส เช่น กรดไฮโดรคลอริก
ผสมกับหินปูนหรือแคลเซียมคาร์บอเนตเกิดฟองแก๊สขึ้น
5. เกิดการระเบิด หรือเกิดประกายไฟ
เช่น ใส่โลหะโซเดียมลงในน้ำจะเกิดประกายไฟขึ้น
6. มีอุณหภูมิเปลี่ยน
ซึ่งสารโดยทั่วไปเมื่อเกิดปฏิกิริยาเคมีจะเกิดการเปลี่ยนแปลง พลังงาน
ความร้อนควบคู่ไปด้วยเสมอ
หมายเหตุ
การเปลี่ยนแปลงต่อไปนี้เกิดปฏิกิริยาเคมีแน่นอน
1. การสันดาป หมายถึง
การที่สารทำปฏิกิริยากับแก๊สออกซิเจน
2. การหมัก เช่น
การหมักแป้งเป็นน้ำตาล
3. กระบวนการเมแทบอลิซึม (
ปฏิกิริยาในสิ่งมีชีวิต ) เช่น การย่อยอาหาร การหายใจ เป็นต้น
4. การถลุงแร่ การเกิดสนิม
ปฏิกิริยาในแบตเตอรี่
สมการเคมี
สมการเคมีเป็นสัญลักษณ์ที่แสดงการเกิดปฏิกิริยาเคมีระหว่างสารตั้งต้น
(อาจเป็นปฏิกิริยาระหว่างโมเลกุล อะตอม หรือไอออนก็ได้) เพื่อเกิดเป็นผลิตภัณฑ์
โดยเขียนแทนด้วยสัญลักษณ์ และสูตรโมเลกุลที่เป็นตัวแทนของธาตุที่อยู่ในสารประกอบ
ตัวอย่างสมการเคมี
สมการเคมีโดยทั่วไปแล้วจะใช้สัญลักษณ์แทนของธาตุต่าง
ๆ มีลูกศรที่ชี้จากด้านซ้ายของสมการไปทางด้านขวาเพื่อบ่งบอกว่าสารตั้งต้น(reactant)ทางด้านซ้ายมือ ทำปฏิกิริยาเกิดสารใหม่ขึ้นมาเรียกว่าผลิตภัณฑ์ (product)ทางด้านขวามือ ดังนั้น
จากสมการเคมีเราสามารถใช้คำนวณหาได้ว่าใช้สารตั้งต้นเท่าไรแล้วจะได้ผลิตภัณฑ์ออกมาเท่าไร
จากกฎทรงมวลเราจึงต้องทำให้แต่ละข้างของสมการต้องมีจำนวนอะตอม
และประจุที่เท่ากัน เรียกว่า การดุลสมการ ซึ่งมีข้อสังเกตดังนี้
1.
พยายามดุลธาตุที่เหมือนกันให้มีจำนวนอะตอมทั้งสองด้านเท่ากันก่อน
2.
ในบางปฏิกิริยามีกลุ่มอะตอมให้ดุลเป็นกลุ่ม
3. ใช้สัมประสิทธิ์(ตัวเลขที่ใช้วางไว้หน้าอะตอม)ช่วยในการดุลสมการ
แล้วนับจำนวนอะตอมแต่ละข้างให้เท่ากัน
ตัวอย่างที่ 1 ให้ทรงกลมสีแดง แทนอะตอมของออกซิเจน
และทรงกลมสีน้ำเงินแทนอะตอมของไนโตรเจน รูปใดแสดงถึงผลิตภัณฑ์จากปฏิกิริยานี้
แนวคิด ดูจากผลิตภัณฑ์ที่ได้คือ NO2 โดยมี N 1 อะตอม
กับ O 2 อะตอม คำตอบคือข้อ ค.
ตัวอย่างที่ 2 จงดุลสมการต่อไปนี้
แนวคิด จากสมการ ให้ดุล Fe ก่อน ซึ่งด้านซ้ายมี 1 อะตอม ด้านขวามี 2 อะตอม ดังนั้นต้องใส่สัมประสิทธิ์ด้านซ้ายเป็น 2
ดุล O2 ด้วย สัมประสิทธิ์ 3/2
ทำให้เป็นเลขจำนวนเต็มโดยการ x 2 ทั้งสมการ
จะได้สมการสุดท้ายคือ
คลิป เรื่อง สมการเคมีและการดุลสมการเคมี
แหล่งที่มา
ที่มา : สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
(สสวท.).(2017).ธาตุและสารประกอบ.ค้นหาเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2559,จาก http://www.scimath.org/lesson-chemistry/item/7172-2017-06-05-13-30-08
ที่มา : นางสาวกานต์ตะรัตน์ วุฒิเสลา.(2016).ธาตุและสารประกอบ.ค้นหาเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2559,จาก http://www.il.mahidol.ac.th/e-media/ap-chemistry1/mass_relationship/index_new003.htm
ที่มา : CoursewareMaster .(13 ธันวาคม 2556).วิชาเคมี -
สมการเคมีและการดุลสมการเคมี. [Video file].จาก
https://www.youtube.com/watch?v=epe83gORVSU
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น